5 things about business platform for beginner
ยุคที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงและปฏิสัมพันธ์กับธุรกิจได้อย่างง่ายดายเพียงปลายนิ้วผ่านอินเตอร์เน็ตอย่างไร้พรมแดนและขีดจำกัดด้านเวลาผ่านแพลตฟอร์มต่างๆของธุรกิจ ไม่ว่าจะในแง่ Channel หรือ Device ก็ตาม จำเป็นอย่างยิ่งที่ธุรกิจยุคใหม่จะต้องพัฒนาระบบการบริการให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างทันท่วงทีในยุคที่ ผู้ที่ปิดการขายได้ก่อนคือผู้ที่เข้าใกล้กับผู้บริโภคได้มากที่สุด และสะพานเชื่อมที่ดีที่สุดระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภคในยุคนี้ก็คือแพลตฟอร์มนั่นเอง บทความนี้จะมาอธิบายภาพรวมในการสร้างแพลตฟอร์มเบื้องต้นสำหรับภาคธุรกิจที่อยากพัฒนาระบบการบริการให้คลอบคลุมมากยิ่งขึ้น ประกอบด้วย 5 ส่วนได้แก่ ด้านงบประมาณในการพัฒนา ด้านการดูแลรักษาระบบระยะเวลาโดยรวมในดำเนินงาน หรือแม้กระทั่ง ขั้นตอนเบื้องต้นก็ตาม
บทความนี้จะมาอธิบายข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นแก่ผู้ที่สนใจอยากจะสร้างหรือพัฒนาแพลตฟอร์มแก่ธุรกิจของท่าน โดยเข้าใจง่าย เพื่อประกอบการตัดสินใจและเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์แพลตฟอร์มดีๆอีกมากมาย
1. Idea & Requirement
เริ่มแรกเมื่อท่านมีความคิดริเริ่มในการขยายช่องทางธุรกิจผ่านแพลตฟอร์มต่างๆท่านควรพิจารณาสิ่งต่างๆดังต่อไปนี้
- จุดประสงค์หลักในการพัฒนาแพลตฟอร์มของธุรกิจท่านว่าคืออะไร
- แพลตฟอร์มเหล่านั้นจะส่งเสริมธุรกิจในส่วนใดได้บ้าง และ สามรถแก้ไขปัญหาส่วนใดแก่ ธุรกิจได้บ้าง
- กลุ่มเป้าหมายของแพลตฟอร์มคือกลุ่มใด
- แพลตฟอร์มที่จะพัฒนานั้นตอบโจทย์และสามารถแก้ปัญหาแก่กลุ่มเป้าหมายและจุดประสงค์หลักของการพัฒนาแพลตฟอร์มได้หรือไม่
- ข้อได้เปรียบในจุดประสงค์ของการพัฒนาแพลตฟอร์มเมื่อเทียบกับคู่แข่งในตลาด อาทิเช่น แพลตฟอร์มของธุรกิจท่านมีฟังค์ชั่นที่แตกต่างจากคู่แข่ง หรือ แพลตฟอร์มของธุรกิจของท่านสามารถดาวน์โหลดและใช้งานได้สะดวกและรวดเร็วกว่าคู่แข่งในตลาด เป็นต้น
เมื่อท่านเข้าใจรากฐานในการพัฒนาแพลตฟอร์มของท่านแล้วก็จะเริ่มต้นเข้าสู่ขั้นตอนการพัฒนา โดยการพัฒนานั้นธุรกิจควรจะมีทีมพัฒนาที่ดี มีประสบการณ์เข้ามาช่วยพัฒนาแพลตฟอร์มของท่านอย่างมืออาชีพเสียก่อน
2. TEAMWORK DREAM WORK
ทีมพัฒนาที่ดีนั้นจำเป็นต่อการพัฒนาแพลตฟอร์มเป็นอย่างมากเนื่องจาก แพลตฟอร์มนั้นจำเป็นต้องมีการอัปเดตอยู่เสมอ ไม่สามารถสร้างแล้วทิ้งได้ ตัวอย่างเช่น แอพพลิเคชั่นต่างๆนั้น App store และ Play store จะส่งแจ้งเตือนการอัปเดตแอพพลิเคชั่นอยู่เสมอหากมีการอัปเดตเวอร์ชั่นระบบปฏิบัติการขึ้น หรือแม้กระทั่งเว็บไซต์เองก็จำเป็นต้องปรับระบบโครงสร้างเว็บไซต์ให้ทันทุกการเปลี่ยนแปลงเสมอเพื่อรักษาลำดับการค้นหาบน Google และป้องกันการเกิดเหตุการณ์เว็บไซต์ล่ม เป็นต้น หากแพลตฟอร์มไม่มีการอัปเดทอย่างต่อเนื่อง แพลตฟอร์มต่างๆที่ธุรกิจลงทุนพัฒนาไปก็จะเป็นการลงทุนที่สูญเปล่าในที่สุด เพราะกลุ่มเป้าหมายไม่สามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มจากอุปกรณ์ต่างๆ (อาทิเช่น โทรศัพท์และแทบเลต)ที่อัปเดตเวอร์ชั่นได้นั่นเอง ด้วยเหตุดังกล่าวนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ธุรกิจควรมีทีม Developer คู่ใจคอยช่วยพัฒนาและแก้ปัญหาความขัดข้องอย่างต่อเนื่องโดยทีม Developer จะแบ่งระบบงานออกเป็น 4 ระบบ ได้แก่ ส่วนหน้าบ้าน , หลังบ้าน , API หรือ Applications Interface และ ฐานข้อมูล โดยทีมพัฒนาจะพัฒนาส่วนงานต่างๆเหล่านี้ออกมาเป็นแพลตฟอร์ม ซึ่งแบ่งส่วนงานต่างๆให้ทีมผู้เชี่ยวชาญดูและออกเป็น 5 ส่วนงานดังนี้
- ทีมออกแบบ( UX/UI ) ซึ่งทำหน้าที่ออกแบบให้แพลตฟอร์มต่างๆให้ง่ายต่อการใช้งานมากที่สุด มีความสวยงามดึงดูดผู้ใช้งาน
- ทีมพัฒนา ( Developer / System Analyst หรือ SA) –นักวิเคราะห์ วางแผนเขียนโปรแกรมและออกแบบฐานข้อมูล
- ทีมทดลองใช้งาน ( Tester ) ทำหน้าที่ทดลอบระบบที่พัฒนาก่อนเปิดใช้งาน ว่าระบบถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ ต้องปรับเพิ่มส่วนใด ตรวจสอบความรัดกุมของระบบ เป็นการ Recheck แพลตฟอร์มเพิ่มเติมแก่โปรแกรมเมอร์ เพื่อแก้ไขและเพิ่มเติมในทุกจุดบอดของระบบเพื่อให้แพลตฟอร์มออกมาสมบูรณ์แบบที่สุดก่อนเปิดให้บริการจริง
- ทีมดูแลระบบ ( System Admin) – ดูแลระบบ รวมถึง สร้างเซิฟเวอร์(Server) เซตอัประบบ ดูแลคลาวน์ (Could) รวมถึง จัดการโดเมนเนม (Domain name)
- อื่นๆ อาทิเช่น Project Manager – ควบคุมดูแลภาพรวมผลงานกับทีมต่างๆ กำหนดระยะในการดำเนินการ และ งบประมาณในการพัฒนา
3. Technology and Development
เมื่อธุรกิจมีทีมคุณภาพครบทุกส่วนงานแล้วจะเข้าสู่ขั้นตอนพัฒนาเทคโนโลยีซึ่งแบ่งเป็นสองประเภทงานหลักๆได้แก่ เว็บ เทคโนโลยี (Web Technology) และ โมบาย เทคโนโลยี (Mobile Technology) โดยแบ่งออกเป็นสองระบบปฏิบัติการได้แก่ ระบบปฏิบัติการแบบ iOS และ ระบบปฏิบัติการแบบ Android เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่แพลตฟอร์มควรจะรองรับได้ทั้งสองระบบปฏิบัติการ
แม้ในปัจจุบันจะมีตัวช่วยพัฒนาที่เพิ่มความสะดวกสบายแก่ผู้พัฒนาอย่าง “Google Flutter” ที่ช่วยให้ผู้พัฒนาสามารถสร้างระบบรองรับระบบปฏิบัติการดังกล่าวทั้งสองได้พร้อมกัน ทั้งระบบ Android และ iOS ช่วยประหยัดกำลังคน และเวลาแก่ทีมพัฒนาได้อย่างมากก็ตามแต่ระบบดังกล่าวก็รองรับเพียงฟังค์ชั่นเบื้องต้นพื้นฐานทั่วไป ในบางกรณีที่ธุรกิจต้องการแพลตฟอร์มที่มีรายละเอียดอื่นๆเพิ่มเติม ฟังค์ชั่นต่างๆที่เฉพาะมากยิ่งขึ้นก็ยังคงจำเป็นต้องมีทีมพัฒนาที่ดีช่วย เขียนระบบแบบ Native หรือแบบดั้งเดิม คอยช่วยพัฒนาเช่นเคย โดยการพัฒนาระบบนั้นจำเป็นต้องคำนึงถึงหลากหลายรายละเอียดเพื่อให้แพลตฟอร์มนั้นใช้งานได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น นอกจากนี้การพัฒนาเทคโนโลยีควรคำนึกถึง
- Interface กับ Application ภายนอก แพลตฟอร์มในยุคปัจจุบันควรสามารถเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆได้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งาน อาทิเช่น หากมีการล็อคอิน บนแพลตฟอร์ม เปลี่ยนจากการให้ผู้ใช้กรอกข้อมูลซ้ำซ้อนมากมายเป็นการล็อคอินผ่านระบบอื่นๆ เช่น Google , E-Mail , Facebook หรือแม้กระทั่งการชำระเงินบนแพลตฟอร์มผ่านระบบ Payment Gateway การเชื่อต่อโซเชียลมีเดีย ทั้ง Facebook , Messenger, Instargram , Twiter ,Google map และอื่นๆอีกมากมาย เพราะเมื่อสิ่งเหล่านี้ง่ายต่อการกดของผู้บริโภคมากเท่าใดโอกาสในการปิดการขายของธุรกิจก็ยิ่งมีมากเท่านั้น
- ฟังค์ชั่น ฟีเจอร์ (Funtion Feature) สิ่งนี้เปรียบเสมือนหัวใจสำคัญของแอพพลิเคชั่น เพราะหากทุกข้อที่ผ่านมานั้นสมบูรณ์แบบทั้งหมดแต่ขาด ฟังค์ชั่น ฟีเจอร์ที่ดีแล้วนั้นก็สูญเปล่า เปรียบเสมือน การสร้างตึกแล้วไม่มีคนอยู่ ฉะนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้พัฒนาและธุรกิจควรมองให้ขาดในทุกด้าน ทั้ง เรื่องความสะดวกในการใช้งานแพลตฟอร์ม ทำอย่างไรให้ใช้งานง่ายยิ่งขึ้น มีฟีเจอร์พิเศษใหม่ ไม่ซ้ำใคร และจะดีที่สุดหากเป็นสิ่งที่ผู้คนสามารถใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นต้น
4. Operation duration
ระยะเวลาในการพัฒนานั้น เริ่มตั้งแต่ 2 เดือนจนถึง 1 ปี ซึ่งเป็นไปตามรายละเอียดและขนาดของงาน โดยแบ่งเป็น Phasing หรือ เฟส ต่างๆ คล้ายๆการสร้างบ้านที่เริ่มสร้างจาก เฟสหนึ่ง ไปยัง เฟสสอง สาม สี่ ตามลำดับ แจกแจงรายละเอียดเป็น Sprint หรือ สปริ้น ต่างๆ ยกตัวอย่างเป็นการสร้างบ้านสปริ้นจะแจงรายละเอียดว่าด้วยขั้นตอน เริ่มลงเสาเข็มก่อน หรือทำตัวบ้านก่อน เช่น ในสปริ้นแรกอาจจะเริ่มจากการสร้างระบบล็อคอิน(Log in) เป็นต้น โดยแต่ละเฟสและสปริ้นจะมีเอกสาร(สัญญา)กำกับที่ระบุรายละเอียดงาน ฟีเจอร์ฟังค์ชั่นต่างๆ ระยะเวลาในการพัฒนาและค่าใช้จ่ายต่างๆอย่างชัดเจน ทั้งนี้เมื่อบางเฟสสมบูรณ์แล้วนั่นหมายถึงการที่ธุรกิจสามารถเปิดให้บริการเบื้องต้นแก่ผู้ใช้งานก่อนได้อย่างไม่มีปัญหา ในขณะที่พัฒนา เฟส สอง สาม สี่ เป็นการอัปเดตในลำดับต่อๆไปได้อีกด้วย
5. Budget method
มาถึงเรื่องที่สำคัญที่สุดที่ภาคธุรกิจนั้นอยากทราบก่อนตัดสินใจพัฒนาแพลตฟอร์มกันแล้ว งบประมาณในการพัฒนาแพลตฟอร์มนั้นสามารถเฉลี่ยคร่าวๆ โดยประมาณตั้งแต่ 500,000 จนถึงหลัก 10 ล้านบาท (ทั้ง Web technology และ Mobile technology) โดยงบประมาณดังกล่าวนั้นแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายสองส่วนหลัก ได้แก่
Development
- ค่าใช้จ่ายด้านซอฟแวร์ (Software) – คลอบคลุมส่วนงานในการออกแบบ และ คลาวน์เซิร์ฟเวอร์ (Could Server)
- ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร – โดยใช้ตั้งแต่ 2 ไปจนถึง 10 คนขึ้นอยู่กับขนาดของระบบที่พัฒนา โดยคำนวณค่าแรงด้วยหลักคำนวณแบบ “Man-day” คน X จำนวนเวลาในการทำงาน
ด้านการดูแลรักษา
- ค่าใช้จ่ายด้านคลาวน์ (Could) – โดยเฉลี่ยเริ่มตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่น
- ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร – ประมาณจากจำนวนเงินเดือนบุคลากรที่ดูแลระบบ X จำนวนบุคลากร อาทิเช่นใช้จำนวน สองคนคูณด้วยเงินเดือนต่อเดือน
*ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายทีมบุคลากรนั้นคือ บุคลากรทั้ง 5 ส่วนงานจากที่กล่าวมาข้างต้น*
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจากข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นจะช่วยให้ภาคธุรกิจเห็นภาพรวมในการเตรียมแผนงาน เงิน เวลา และบุคลากร ก่อนตัดสินใจพัฒนาแพลตฟอร์มชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งนี้แม้จากที่กล่าวมาจะนับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่องค์กรจำต้องเตรียมงานอย่างรัดกุมเพื่อให้เป็นไปตามแผนงานและงบประมาณที่คาดการ แต่ก็เป็นสิ่งที่คุ้มค่าแก่การลงมือทำอย่างยิ่ง ด้วยความก้าวหน้าของบริบทสังคมและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปจากก่อนอย่างสิ้นเชิง แพลตฟอร์มจะช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างสวัสดิภาพและอาจเพิ่มโอกาสที่ดีอีกมากมายในอนาคต